วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556


คำว่า  การสื่อสาร (communications)  มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาติน ว่า  communis หมายถึง  ความเหมือนกันหรือร่วมกัน 
     การสื่อสาร (communication)    หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร  ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์  ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร  โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน  บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล

สื่อการเรียนการสอน
หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพประเภทของสื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
 1. สื่อประเภทวัสดุ
 2. สื่อประเภทอุปกรณ์
 3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ
 4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1.  เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform)
 2.  เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education)
 3.  เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain)
 4.  เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade)
 5.  เพื่อเรียนรู้ (learn)
 6.  เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide)



ข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง   การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง  อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่าข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)
องค์ประกอบพื้นฐาน
- หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
- ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmission Channel)
- หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)









ประโยชน์ของข่ายสื่อสารข้อมูล
1. การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว
 2) ความถูกต้องของข้อมูล
 3) ความเร็วของการทำงาน
 4) ประหยัดต้นทุน
 5) สามารถนำข้อมูลที่มีมาใช้ได้ทันที
 6) ข้อมูลที่มี สามารถปรับแต่งหรือ ปรับปรุงให้เหมาะสมได้
 
สรุป ...
การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน เป็นการนำเอาหลักการในการสื่อสารต่าง ๆ ทั้งที่เป็นการลงมือปฏิบัติและแบบเรียน ผ่านสื่อต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร คือผู้เรียน ได้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาที่เราส่งไป และมีการตอบกลับ (feed back) มายังผู้ส่งสารหรือผู้สอนเพื่อเป็นการประเมินการสื่อสารดังกล่าวถึง ข้อดี ข้อเสีย เพื่อเป็นการปรับปรุงให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป
 และเนื่องด้วย องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในบทเรียนนี้คือ ผู้รับสาร หรือผู้เรียน ดังนั้นผู้ส่งสาร หรือผู้สอนจำเป็นต้องมีการปรับปรุงวิธีการ และเนื้อหาอยู่เสมอ เพื่อมิให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลผิดพลาด